ดวงอาทิตย์
แม้จะถือว่าอยู่ในระบบสุริยะ แต่ทว่าการศึกษาดวงอาทิตย์เป็นวิธีการเบื้องต้นส่วนหนึ่งทำให้เราเข้าใจ ระบบการทำงานของจักรวาล จากความคล้ายคลึงกับ ดาวต่างๆ โดยเฉพาะ กาแล็คซีทางช้างเผือก มีประมาณกว่า 300 พันล้านดวงยังเกิดขึ้นใหม่ (Stars Birth) ตลอดเวลา
กาแล็คซี่่ มีอยู่มากกว่าพันล้านแห่งในจักรวาลอันไพศาล มีดวงอาทิตย์อีกจำนวนเท่าใด อาจนับไม่ถ้วน และยังนับไม่ได้ครบได้ในทุกวันนี้ ความเข้าใจเพื่อสำรวจพฤติกรรมดวงอาทิตย์เป็นสิ่งจำเป็น ต่อการศึกษาด้าน จักรวาลวิทยา ดาราศาสตร์ รวมถึงการสำรวจอวกาศ เบื้องต้น
เป็นแหล่งพลังงานเดียวในระบบสุริยะใหญ่ที่สุด ใกล้ตัวเรามากที่สุด ลองนึกภาพว่าตื่นขึ้นมาตอนเช้า จู่ๆดวงอาทิตย์เกิดหายไปอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง ?
แน่นอนที่สุด สภาพโลกมืดสนิท ดวงจันทร์ก็มืดไปด้วย อากาศหนาวเย็นอุณหภูมิลดลงติดลบ พืชล้มตายเนื่องขาดระบบการสังเคราะห์แสง ระบบนิเวศล้มเหลวลงอย่างสิ้นเชิง ฤดูกาลหายไปหมด สภาพอากาศแปรปรวน แรงดึงดูดของระบบสุริยะ ล้มเหลวขาดความเสถียร ทุกอย่างบนโลกลอยสู่อวกาศอย่างไร้จุดหมาย ควบคุมไม่ได้
ดาวต่างๆโคจรชนกันอย่างโกลาหล เพียงเป็นเรื่องสมมุติ จุดประสงค์ให้เห็นความเชื่อมโยงที่สำคัญ ของระบบที่เกี่ยวข้องกันแยกไม่ได้ ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ทุกสิ่งที่อยู่ในทั้งระบบสุริยะ
และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับดวงอาทิตย์คือ การก่อกำเนิดของดวงอาทิตย์มิได้โดดเดี่ยวเกิดขึ้นเพียงดวงเดียว ในทางทฤษฎีบ่งชี้ว่า เกิดขึ้นเป็นกระจุกดาว และมีการแตกแยกผลัดพรากจากกัน ของครอบครัวดวงอาทิตย์ (Our Sun's Family)ห่างไกลกันนับพันปีแสง แต่ ดวงอาทิตย์นั้นเป็นดาวที่เรามักลืมดู หรือให้ความสนใจน้อย ทั้งๆที่มีความสำคัญอย่างใหญ่หลวงต่อระบบสุริยะ
|
![]() | ||
|
ความรับผิดชอบและหน้าที่ ของดวงอาทิตย์ ในชีวิตประจำวัน อาจเปรียบดวงอาทิตย์เสมือน โรงงานไฟฟ้า ที่มีไดนาโมขนาดยักษ์ คอยปั่นพลังงานออกมาหล่อเลี้ยง ทุกครอบครัวในระบบสุริยะ นับตั้งแต่โลกดาวเคราะห์ทุกดวง ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์น้อย วัตถุขนาดเล็ก ชิ้นเล็กๆที่เท่ากับ ผงธุลีโคจรในอวกาศทุกชิ้น กระทั่ง ดาวหาง ซึ่งเดินทางมาจากชายแดนสุดขอบสุริยะแถบ Oort Cloud อันไกลโพ้น เข้ามาได้ด้วยล้วนมีความสัมพันธ์โดยตรงกับดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น
รังสี (Solar radiation) จากพลังงานความร้อนของดวงอาทิตย์ เป็นสิ่งที่น่าพิศวง สามารถทำให้อาหารสุก ตากเสื้อผ้าให้แห้ง จนเป็นพลังขับเคลื่อนสุริยะทั้งระบบไม่ว่าเราอยู่ที่ใดของโลกล้วนมี รังสีดวงอาทิตย์เข้าไปมีส่วน
ระบบพัฒนาสิ่งมีชีวิตเริ่มก่อตัวจากสัตว์เซลล์เดียว ในยุคดึกดำบรรพ์กำเนิดโลกจนเป็นเนื้อเป็นหนัง แม้แต่ หินแร่สสารธรรมชาติ เป็นต้นทางวัตถุดิบเรานำมาแปรรูปพัฒนาการให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิต ก็มีขบวนการทางเคมี อันมีรังสีดวงอาทิตย์เข้าไปเกี่ยวข้อง ระบบการเติบโตของพืชต้องใช้สังเคราะห์แสง ระบบกลไกสภาพอากาศบนโลกทั้งหมด เกี่ยวพันกันเป็นฤดูกาล เนื่องจากดวงอาทิตย์เช่นกัน
นักวิทยาศาสตร์สาขา Astrobiology (ชีววิทยาอวกาศ) ยังติดตามข้อสงสัยที่น่าสนใจในประเด็นว่า อะไรที่เป็นมูลฐานชีวิตบนโลก หรือเป็นชีวิตมาจากที่อื่นและหรือจากการเปลี่ยนแปลงอันยาวนาน สภาพแวดล้อมของอวกาศโลก (Earth’s space environment)
โดยข้อสงสัยมีส่วนพาดพิง ระบบของดวงอาทิตย์ เพราะเป็นพลังงานชนิดเดียวที่สามารถครอบคลุม การเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ เชื่อมโยงกันได้ทั้งโลก
|
![]() | ||
| ||
![]() |
| ||
ดวงอาทิตย์ ขอแนะนำตัวให้เรารู้จัก คำว่า Sun มาจากภาษาลาติน คือ Sol หมายถึง ดาวที่อยู่ตรงกลางระบบของสุริยะเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่าโลก 109 เท่า มีขนาดใหญ่กว่าโลก 1.3ล้านเท่าจากตัวเลขเห็นว่ามีขนาดใหญ่กว่ามากแน่
เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น นึกถึงวงกลม 2 วงโดย วงกลมแรกเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด1.3 ซ.ม.(คือโลก) ส่วนวงกลมที่สองเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 1.5 เมตร (คือดวงอาทิตย์) ทั้งสองชิ้น วางอยู่ห่างกัน 150 เมตร นั้นคือ ระยะที่ห่างกัน ระหว่างโลกและดวงอาทิตย์เท่ากับ 150 ล้านกิโลเมตร ตัวเราอยู่ในวงกลมวงแรก ขนาดเท่ากับอะตอมเดียว
ถ้าอยากรู้ว่า 150 ล้านกิโลเมตร ไกลเพียงใดให้สมมุติว่าขับรถยนต์ด้วยความเร็ว110 ก.ม /ช.ม. โดยไม่หยุดพักเลยใช้เวลาราว 50,000 วัน (หรือประมาณ 150 ปีจากโลกสู่ดวงอาทิตย์
ดวงอาทิตย์ใน ระบบสุริยะอื่นๆ หรือ Nearest star ใกล้ที่สุดคิดเป็นสัดส่วนห่างกันราว 4,000 ก.ม. จากตัวอย่างที่สมมุติ ระยะทางที่กล่าวมา (หรือประมาณ 4.22 ปีแสง)
|
![]() | ||
| ||
![]() |
| ||
![]() | ||
| ||
ดวงอาทิตย์ กำเนิดมาแล้ว เมื่อ 4.6 พันล้านปี มีองค์ประกอบก๊าซหลายชนิด เช่น Hydrogen 92.1% - Helium 7.8% - Oxygen 0.061% - Carbon Nitrogen และ Neon Iron Silicon บรรยากาศกดดันมากกว่าน้ำทะเล โลกถึง 340 ล้านเท่า
ทุกนาที ดวงอาทิตย์ปลดปล่อยพลังงาน ก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซฮีเลียม 700 ล้านตัน โดยจะเปลี่ยนเป็นพลังงานบริสุทธิ์ (Pure energy) ได้ 500 ล้านตัน เห็นเป็นแสงส่องมายังโลก คือ พลังงานที่เรามาใช้ประโยชน์นั่นเอง
ดวงอาทิตย์ สามารถให้พลังงานลักษณะนี้ได้อีก 5 พันล้านปี หลังจากนั้นอีก 1 พันล้านปี เริ่มขยายตัวใหญ่กว่าเดิมขึ้นหลายร้อยเท่าตัว เรียกว่า Red giant (ดาวยักษ์สีแดง) ค่อยๆแผ่รังสีความร้อนไปทั่วในระบบสุริยะ เผาโลกจนร้อน
ความร้อนแพร่ขยาย จากเดิมมหาศาลทำให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ถูกความร้อนกลืนไปทั้งสิ้น แล้วดวงอาทิตย์ยุบตัวลงเป็น White dwarf (ดาวแคระขาว) ขนาดเล็กเป็นจุดสิ้นสุดของดวงอาทิตย์ ขบวนการนี้ใช้เวลาอีกหลายพันล้านปี ดวงอาทิตย์จึงค่อยๆเย็นลงอย่างสมบูรณ์อีกต่อไป
อำนาจและอิทธิพลของดวงอาทิตย์ ทราบกันดีว่า แสงจากดวงอาทิตย์ใช้เวลาเดินทางมาถึงโลก ใช้เวลา 8 นาที โดยการที่แสงส่องไปถึงที่ใด ย่อมหมายความว่าพลังงานของดวงอาทิตย์ มีอำนาจแผ่อิทธิพลไปยังบริเวณนั้นๆด้วย
ขณะนี้ทราบว่าแสงส่องผ่านไปไกล สู่นอกขอบสุริยะแบบหรอมแหรม ใกล้บริเวณ Kuiper Belt จากการสะท้อนบน พื้นผิวของน้ำแข็งของกลุ่มดาวเคราะห์ ในแถบนั้นช่วงปี ค.ศ. 2007 ยานสำรวจ Voyager 1 อยู่ระหว่างการตรวจสอบสภาพแวดล้อมอวกาศ ใกล้แนวขอบสิ้นสุดของ Heliopause (บริเวณอวกาศอันกว้างใหญ่ไพศาลมีความสัมพันธ์กับสนามแม่เหล็ก) และพายุสุริยะ (Solar wind)
ว่าแท้จริงนั้นพลังงานดวงอาทิตย์สิ้นสุดอยู่บริเวณใดของ Kuiper Belt ซึ่งเป็นพื้นที่คาบเกี่ยวกันของ ขอบระบบสุริยะ คงจะทราบคำตอบ ที่ชัดเจนในระยะต่อไป
|
![]() |
| ||
|
![]() | ||
|
| ||
![]() | ||
| ||
Coronaภาษาลาตินแปลว่า มงกุฎ เป็นเขตชั้นนอกสุด (Outermost) ของชั้นบรรยากาศดวงอาทิตย์ ซึ่งอยู่เหนือ Chromosphere
(ก๊าซสีแดง) จะเห็น Corona เป็นรัศมีแสงสีขาวเลือนพร่า (White halo) รอบๆดวงอาทิตย์ |
![]() |
Spiculesคล้ายเส้นผมแหลมๆโผล่ขึ้นมา เกิดจากการกระตุ้นของ พลังงานไฟฟ้าสามารถคงสถานะไว้ ในรูปแบบที่ต่างกันนานหลายนาที โดยสลับการเกิดไปทั่ว ความสูงอาจถึง 90,000 กิโลเมตร และอาจมีเสันผ่าศูนย์กลางราว 500 กิโลเมตรได้
|
![]() | ||
| ||
![]() |
![]() |
Chromosphere ภาษาลาตินแปลว่า ขอบเขตของสี เป็นแบ่งชั้นบรรยากาศ อยู่ตรงกลางระหว่าง Corona (อยู่ด้านบนสุด) และ Photosphere (อยู่ด้านล่างสุด) มีอุณหภูมิระหว่าง 10,000 - 20,000 Kelvin สามารถมองเห็นได้ง่ายด้วยตาเปล่า ขณะที่ดวงอาทิตย์ขึ้น
และตก บริเวณริมขอบเป็นสีชมพู แดงเรื่อๆ |
![]() | ||
| ||
![]() |
Sunspot คือ จุดบนดวงอาทิตย์ เป็นการเกิดความเข้มข้น ของสนามแม่เหล็กในลักษณะชั่วคราวสามารถเห็นเป็นจุดแสงสีขาวบริเวณ Photosphere มีค่าของสนามแม่เหล็กระหว่าง 2,000-4,000 Gauss
ความเป็นจริงใจกลาง Sunspot เป็นจุดดำมืดและเทา มีอุณหภูมิราว 4,000 Kelvin เหตุที่มีสีดำเพราะ เกิดการเปลี่ยนแปลงของวัตถุดิบ และเย็นตัวกว่า ในบริเวณอื่น ขนาดที่เกิดขึ้นตั้งแต่ 1,000 กิโลเมตร จนขนาดนับแสน ตารางกิโลเมตร การปรากฎของ Sunspot สามารถจัดประเภทของกลุ่ม เรียกว่า Sunspot group classification โดยมีรูปแบบและเกณฑ์ที่ต่างกันไป |
![]() |
|
![]() | ||
![]() | ||
| ||
![]() | ||
| ||
![]() |
![]() | ||
| ||
พายุสุริยะ
Solar Wind ปัจจุบันการสำรวจได้ชี้ชัดว่า พายุสุริยะได้หอบเอาไอออนก๊าซจากดวงอาทิตย์ พัดตามแนวเส้นสนามแม่เหล็ก กระจายตัวเข้าสู่ระบบสุริยะด้วยความเร็วระหว่าง 300-800 กม.ต่อนาที ไปไกลถึงดาวพฤหัส และขอบสุริยะ
ความร้อนสูงจาก Magnetized plasma (แม่เหล็กจากก๊าซเหลว) มีระดับอุณหภูมิ 200,000 Kelvin เมื่อผ่านเข้ามายังโลก คลื่นความถี่แม่เหล็กกลับลดลง เหตุเพราะผลกระทบจากการชนกันระหว่าง อีเล็คตรอน โปรตรอน ซ้ำแล้วซ้ำอีกจนอ่อนกำลัง ทำให้ความเร็วพายุสุริยะเมื่อใกล้โลกช้า เหลือประมาณ 300 กม.ต่ิอ นาทีอุณหภูมิความร้อน อีเล็คตรอนเหลือ 150,000 Kelvin ส่วนโปรตอนเหลือ 40,000 Kelvin
โลกมีระบบสนามแม่เหล็ก (Earth's magnetic field) คอยปกป้องต้านทานเรียกว่าแนว Bow shock จากกระแสพายุสุริยะ ทำให้สิ่งมีชีวิตบนโลกปลอดภัย แต่มีจุดอ่อนบริเวณช่องว่าง ของขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ พายุสุริยะยังสามารถเล็ดลอดเข้ามาได้ เห็นเป็นลักษณะแสงเหนือ แสงใต้ (Aurora)
หากโลกไม่มี ระบบสนามแม่เหล็ก จะทำให้รังสีที่ อันตรายจากพายุสุริยะพัดเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลกได้ง่าย แล้วทำลายระบบนิเวศต่างๆ และทำลายผิวหนังของมนุษย์ได้
อย่างไรก็ตามลักษณะสนามแม่เหล็กนั้นอ่อนไหว มิใช่เป็นกำแพงแข็ง การโหมพัดอย่างรุนแรงของพายุสุริยะที่เข้มข้น ด้วยอนุภาพของรังสี เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์มีความกังวลใจต่อสภาพแวดล้อมโลก
ลักษณะสนามแม่เหล็กโลก ให้เรานึกถือฟองสบู่ที่เรานำมาเป่าเล่นแล้วเกิดเป็นฟองลูกโป่งขนาดใหญ่ เวลาถูกลม ฟองลูกโป่งจะโย่ยไปโย่ยมาแต่ไม่แตกนั้นคล้ายกับพายุสุริยะพัดปะทะสนามแม่เหล็กโลก โดยมีโลกลอยอยู่ตรงกลาง
ปัจจัยหนึ่งที่เริ่มมีปัญหา คือ สนามแม่เหล็กโลกได้อ่อนตัวลง ด้วยผลกระทบจากการใช้ทรัพยากรโลกที่ไม่ระมัดระวัง เช่น ควันพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมทั่วโลกควันจากท่อไอเสียรถยนต์ การทำลายป่าไม้ เกิดสภาวะปฎิกิริยา เรือนกระจก โดย ทำให้อุณหภูมิโลกร้อน
เชื่อว่าน่าจะมีผลถึงแกนภายในโลก อาจกระทบถึงการเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กโลกได้ อนาคตไม่กี่ร้อยปี มนุษย์อาจจะไม่สามารถออกไปกลางแจ้งได้สะดวกเหมือนปัจจุบัน เนื่องจากรังสีของดวงอาทิตย์ เข้าสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้นส่งผลต่อร่างกายของมนุษย์
|
![]() | ||
|
ผลแรงดึงดูดของดวงอาทิตย์ต่อโลก หากโลกปราศจากแรงโน้มถ่วง ที่สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ เราจะไม่สามารถยืนติดพื้นดินได้เลยได้เลย สภาพการลอยตัวจะเกิดขึ้นและควบคุมไม่ได้ออกสู่อวกาศพื้นผิวโลก จะมีความร้อนขึ้นจากที่เป็นอยู่ เพิ่มขึ้น 28 เท่า
นอกจากนั้นยังมีผลในเรื่อง Effect on the tides (ปฏิกิริยา น้ำขึ้น-น้ำลง) เช่น ดวงจันทร์มีต่อโลกแต่น้อยกว่า โดยดวงจันทร์ มีผล 70% ดวงอาทิตย์มีเพียง 30% โดยเฉพาะช่วง New Moon หรือ Full Moon (เต็มดวง) จะแสดงพลังงานแรงดึงดูดร่วมกันอย่างเข้มแข็ง
เมื่อตำแหน่งของโลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์อยู่ในเส้นระนาบเดียวกัน
หากตำแหน่งของโลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ มีตำแหน่งเป็นมุมฉากกันดวงจันทร์จะมีอำนาจแรงดึงดูดลดลงต่อโลก และการเกิดขึ้นช่วง Quarter Moons (ไม่เต็มดวง) ก็เช่นกัน
|
![]() | ||
| ||
![]() |
| ||
ผลกระทบเรื่องรังสี และพลังงานดวงอาทิตย์ต่อมนุษย์ Ultraviolet Rays และ X-Rayความสว่างจัดของแสงดวงอาทิตย์ เป็นอันตรายต่อตามนุษย์ หากมองเข้าไปโดยตรงเป็นเวลาเพียงชั่วครู่ เพราะรังสี Ultraviolet rays สามารถทำลายเซลล์ตาดำ (Retinas) ให้เสียหายได้ เพราะฉะนั้นควรใส่แว่นกันแสงแดด เพื่อกีดขวาง รังสี Ultraviolet rays เป็นรังสีที่ตามนุษย์มองไม่เห็น
หมายเหตุ : การใช้แว่นกันแดด ควรระบุชนิด UV protection เท่านั้นจึงป้องกันได้จริง เพราะเคลือบสารป้องกัน มิใช่เพียงเป็นกระจกสีเข้มทั่วไป
ค.ศ. 2000 บนดวงอาทิตย์ บริเวณที่เรียกว่า AR9077 เกิด Flare ขนาดยักษ์มีผลกระทบเกิด Magnetic storms และ Dramatic auroral มีการม้วนตัวของสนามแม่เหล็กบนดวงอาทิตย์ ขนาด 77,000 – 230,000 กิโลเมตร ตรวจพบเป็นขนาดใหญ่มาก เป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 30 ปี
ลักษณะเช่นนี้ ส่งผลกระทบต่อโลก ด้วยการหอบ Ultraviolet radiation เข้าสู่วงโคจรโลก ด้วยความเร็วและความแรง พุ่งเข้าสู่บรรยากาศทำลายชั้น Ozone ทำให้ระบบ อุปกรณ์ดาวเทียมเสียหาย และผลกระทบสภาพแวดล้อมทางเคมีต่อมนุษย์
นอกจากรังสี Ultraviolet มีอันตรายต่อมนุษย์แล้ว รังสี X-Ray ก็ผ่านเข้ามาสู่ชั้นบรรยากาศ ใกล้ตัวเรามาก เช่นกัน สภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลก เป็นตัวเสริมทำให้เกิดปัญหาติดตามมากยิ่งขึ้นอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้โดยปัญหาคือคลื่นรังสี เหล่านี้เรามองไม่เห็น จึงไม่อาจหลบหลีกได้เลย
|
![]() | ||
| ||
![]() |
| ||
The Plasmasphere
บริเวณสภาพแวดล้อมอวกาศรอบๆโลกมีส่วนประกอบของ อนุภาคไฟฟ้าซับซ้อนที่เกิดจาก Protons และ Electrons ดังเช่นเกลือ น้ำตาล พริกไทยเราสามารถนำไปใส่ในส่วนประกอบการปรุงอาหาร รวมกันเป็นรสชาติหนึ่งเดียวที่อร่อย
อวกาศเช่นกัน ความเข้มข้นหรือเจือจางในส่วนประกอบอย่างเดียวเท่านั้น ที่จะให้อนุภาคต่างๆเกิดปฏิกิริยา ผสมรวมต่อกันได้ แล้วเกิดพละกำลังขึ้นใหม่ เกิดการวิ่งหมุนวน อย่างรวดเร็วรอบๆโลกได้ นับพันกิโลเมตรต่อวินาที พุ่งทะลวงหลงเข้าในชั้นบรรยากาศโลก
การที่เกิดขึ้นในบริเวณที่คาบเกี่ยว รอบๆอวกาศของโลก ระหว่าง 8,000-30,000กิโลเมตร ไม่ใช่เป็นเรื่องห่างไกลตัวเรา เพราะอิทธิพลวงแหวน (ไม่เหมือนวงแหวนดาวเสาร์) สามารถช่วยหอบพลังงานนับหลายพันโวลต์ เข้าสู่บรรยากาศโลกได้ง่าย
ผลจากแรงส่งมหาศาลของ พายุสุริยะขนาดใหญ่เกิดขึ้น บนดวงอาทิตย์อย่างรุนแรง อำนาจสนามแม่เหล็กโลกไม่สามารถต้านทานได้ ขณะนี้ทางวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถเข้าใจว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ว่ามีพลังงานสูงแบบ High voltages ในบรรยากาศสนามแม่เหล็กโลก
|
![]() |
| ||
|
![]() | ||
|
|
llnu Hyper (LoGic Man)