. ........เรื่อง โลกร้อน เป็นเพียงกระแสการตื่นตัวของมนุษย์ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้นเอง ซึ่งพอมนุษย์เริ่มที่จะเคยชินกับสภาวะโลกร้อน เมื่อปรับตัวได้สักระยะหนึ่ง เราก็จะลืมเรื่องโลกร้อนทันที ไม่สนใจกับมัน ก็คงเหมือนกับกระแสความตื่นกลัว เรื่องน้ำท่วมโลก และเรื่อง สะเก็ดดาววิ่งชนโลกที่เคยเกิดขึ้นมาครั้งหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ แต่ใช่ว่า ภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นกับโลกใบนี้ จะหมดไปก็หาไม่ หากมันจะเพิ่มดีกรีของความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ หลังจากนั้นมันก็จะเงียบ และก็หยุดสงบนิ่งเหมือนกับว่า ไม่มีอะไรเกิดขึ้น มนุษย์ก็จะชาชินไปกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเหล่านี้ไปเอง อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ความตื่นกลัวนี้ บางทีกลับเป็นโอกาสให้มนุษย์หัวใส หัวการค้า ใช้เป็นช่องทางทำมาหากิน ถึงขนาดบางคนทำเป็นธุรกิจ การค้า หรืออาจถึงขั้นหลอกลวงประชาชนบนความวิบัติของมนุษย์ด้วยกันเอง และในที่สุดตนเองนั่นแหละก็คงหนีไม่พ้นชะตากรรมนี้เช่นกัน นี่แหละมนุษย์..!
……….. ต้นเหตุแห่งการเกิดปัญหาต่างๆเหล่านี้ ล้วนเกิดจาก การกระทำของมนุษย์แต่เพียงผู้เดียวทั้งสิ้น ดังนั้นหนทางแก้ไข ก็ต้องแก้ที่มนุษย์.......มนุษย์จะต้องหยุดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ มนุษย์จะต้องหยุดรุกรานธรรมชาติ นั่นคือต้องมีคำว่า “พอ” “พอดี” “พอเพียง” ต้องหยุดการบริโภคแบบตะกละตะกราม หยุดความโลภ หยุดการเสพความสุขความสะดวกสบาย อย่างบ้าคลั่งเสียที และหยุดการรณรงค์ แค่ลมปากเท่านั้น.
......ความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุด หรือหยุดอยู่กับที่ ด้วยพลังของความอยากรู้ อยากเห็น อยากสะดวกสบาย อยากสนุกสนาน อยากอร่อย อยากสวยอยากงาม อยากร่ำอยากรวย ก็พยายามไขว่คว้าหา สรรสร้างสรรพสิ่งขึ้นมาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แน่นอนตามกฎของธรรมชาติ ไม่มีสิ่งใดที่เราจะได้มาโดยไม่ต้องสูญเสีย ดังนั้นสิ่งใดที่เราได้มันมา ก็ต้องมีสิ่งแลกเปลี่ยนให้ธรรมชาติ เป็นธรรมดา การสรรค์สร้างสรรพสิ่งของมนุษย์ล้วนแต่ต้องใช้ทรัพยากรต่างๆภายใต้พื้นปฐพีนี้ทั้งสิ้น ดิน น้ำ ลม และไฟ คือธาตุพื้นฐานบนโลกใบนี้ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ถูกรุกราน จะเกิดการสูญสียสมดุลย์ และแน่นอนธรรมชาติ ก็ย่อมต้องสะสมพลังเพื่อการรักษาความสมดุลย์ให้กลับคืนมา เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ ๆ ตราบเท่าที่มันถูกรุกราน ขุดคุ้ย ค้นหาประโยชน์จากมันนำมาใช้มากเท่าไร พลังที่มันสะสมเพื่อเอาคืนก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น เพียงแต่ว่ารอวัน เวลาและสถานะการณ์ที่เหมาะสมว่ามันจะมาถึงเมื่อไรเท่านั้นเอง
....ในขณะที่โลกวัตถุรอบตัวเรา ก้าวไปถึงไหนแล้วรัฐจะต้องเร่งรัดให้ความสำคัญด้านการศึกษา การให้ความรู้ ปลูกฝัง ด้านคุณธรรม จริยธรรมการให้ความสำคัญกับการการพัฒนาด้านจรรยาบรรณ และการให้ความรู้กับประชาชน ในเรื่องประโยชน์และโทษของสิ่งเหล่านี้ ให้เท่าทันกับความเจริญด้าน วิทยาศาสตร์และเท็คโนโลยี่ และหน้าที่ของรัฐอีกประการหนึ่งกคือ การพัฒนาขีดความสามารถของกลไกภาครัฐ ในการป้องกัน การเฝ้าระวัง และปราบปราม การนำเอาไปใช้งานในทางที่เป็นภัยต่อสังคม เสมือนโปลิศต้องมีหน้าที่ไล่จับขโมยให้ได้ฉันใดฉันนั้น อย่าบอกว่า นะ ว่าต้องให้ขโมยหยุดเพื่อให้โปลิศจับคงยาก ควบคู่ไปกับความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเท็คโนโลยี่ต่างๆที่กำลังเกิดขึ้น หลั่งไหลเข้ามา จนไม่สามารถปิดกั้นได้ อย่างไม่ขาดสาย เรากลับควบคุมการใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง การพัฒนาทางด้านวัตถุ เป็นเรื่องที่หยุดยั้งไม่ได้กับกระแสโลกาภิวัฒน์
....ถ้าจะว่าไป กระแสโลกาภิวัฒน์ ก็คงเป็นมีดคมสองคม นั่นแล ขึ้นอยู่กับว่า "ใคร" เป็นคนนำเอาไปใช้ เป็น "สุจริตชน" หรือเป็น "โสนทุจริตชน" ถามว่าเราจะห้ามมิให้ใครใช้ ได้หรือไม่ การออกกฏหมาย จะสามารถควบคุมได้ก็แต่ผู้ที่เคารพกฏหมาย(คนดี) ส่วน คนที่ไม่เคารพกฏหมาย (คนไม่ดี)เขาจะเคารพเชื่อฟังกฏหมาย นะหรือ คงยาก ดังเราเห็นได้ในสังคมยุคปัจจุบันอยู่แล้ว
กฏหมายเป็นเพียง ตัวหนังสือที่เขียนขึ้น เพื่อควบคุมคนมิให้กระทำความผิดเท่านั้น แต่กฏหมายไม่สามารถควบคุมจิตใจคนไม่ให้กระทำความผิดได้ หากว่าเขาจะกระทำ ด้วยแรงจูงใจจากสภาพแวดล้อมภายนอก หรือ ถูกกดดันจากสภาพจิตใจภายในตัวเขา ในยุคโลกาภิวัฒน์มนุษย์เรา หลงติดกับ กับกฏที่ตัวเองสร้าง ว่ากฏคือคำตอบของการแก้ปัญหา มนุษย์
.....มนุษย์สร้างสรรพสิ่งขึ้นมาในบรรพิภพ แล้วแล้วสรรพสิ่งที่มนุษย์สร้างก็กลายเป็นหลุมขวาก ดักมนุษย์ ให้ตกลงไปตายในหลุม
นั่นคือการถูกคมดาบที่หนึ่งที่มนุษย์เอามาเชือดเฉือนมนุษย์ด้วยกันเอง ส่วนดาบคมที่สองหากมนุษย์จักนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์จากคมดาบ เพื่อนมนุษย์ก็จักได้รับประโยชน์จากดาบคมนั้น ฉันใด ก็ฉันนั้น
........กระแสโลกาภิวัตน์ในช่วงนั้นเริ่มเห็นผลกระทบทางสังคมจิตวิทยาได้อย่างชัดเจนขึ้น ผู้เขียนจึงได้เขียนบทความเรื่อง “โลกาภิวัตน์ โลกาพินาศ” ขึ้น เพื่อชี้ให้เห็นถึงเหตุ และผลกระทบด้านลบ ของกระแสโลกาภิวัฒน์ ซึ่ง เป็นความจำแล้วที่เราจะต้องเร่งรีบ ส่งเสริม ด้านจรรยาบรรณ จริยธรรม คุณธรรม และจิตสำนึกสาธารณะ ในสังคมควบคู่ไปกับ วิทยาศาสตร์และเท็คโนโลยี่ แต่ปรากฏว่า ทุกวันนี้ เราเองกลับให้ความสำคัญแต่ความรู้ ทางด้านการพัฒนา ส่งเสริมการเรียนการสอน แสวงหา ไขว่คว้าดิ้นรน แข่งขัน การมี การใช้ด้านวิทยาศาสตร์และเท็คโนโลยี่ อย่างขนานใหญ่ แต่ตรงกันข้าม เรากลับเหินห่างลดความสำคัญ ทางด้านการเรียนการสอน คุณธรรม จริยธรรม และวิชาที่ว่าด้วยหน้าที่พลเมือง และศีลธรรม อย่างน่าเสียดาย แบบนี้ สังคมมันถึงได้ วิปริต แปรปรวน วุ่นวาย สับสน จิตใจเด็ก เยาวชน ผู้คนในยุคนี้ มันถึงได้ ดุดัน โหดเหี้ยม ปานสัตว์ป่า อย่างไร อย่างนั้น อย่างที่เราเห็น เป็นข่าวทุกวัน
......... ในขณะนั้น ปัญหาเรื่องโลกร้อน ยังไม่ฮิต สังคมยังไม่ให้ความสำคัญุถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอย่างจริงจัง ข้อเขียนนี้ทางนิตยสารอาจจะไม่คาดคิดว่ามันจะเกิดขึ้น และอาจจะเกรงว่าจะทำให้ กระต่ายที่นอนหลับอยู่ ต้องพลอยสะดุ้งตื่นกลัวไปเปล่าๆ หรืออาจเข้าตำรา ยังไม่เห็นโลงศพ จึงยังไม่หลั่งน้ำตา ผู้เขียนจึงมิได้นำลง จนกระทั่งต้นฉบับได้สูญหายไป แต่ผู้เขียนยังได้ให้ความสนใจ เรื่องวิกฤติการณ์ของโลก และสภาวะสิ่งแวดล้อม อันเกิดจากความเจริญทางด้านวัตถุ เท็คโนโลยี่ และพฤติกรรมการบริโภค รวมทั้งการดำเนินชีวิตและการใช้ทรัพยากรของมนุษย์ที่ฟุ่มเฟือย ความเห็นแก่ตัวความละโมบของมนุษย์ ความก้าวร้าว รุนแรง ความขัดแย้งทางความคิด
ณ ขณะนี้ปัญหาเรื่องโลกร้อน การวิพากษ์กระแสโลกาภิวัฒน์ที่ส่งผลกระทบต่อโลกด้านลบ ซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ที่ตระหนักถึง ปัญหา โลกวิปริต เป็นกระแสที่กำลังมาแรง ดังนั้นผู้เขียนจึงขออนุญาต ด้วยคารวะะจิต รวบรวม เรียบเรียง ข้อมูล บทความ หรือข้อเขียนต่างๆ เหล่านั้นเท่าที่จะทำได้ เพื่อเป็นอนุสติ สะกิดเตือนใจแก่มวลมนุษยชาติต่อไป
