จิตตนิยมทางวิทยาศาสตร์

............. เราคงจะปฎิเสธกระแสคลื่น แห่งความเจริญทางวัตถุ ความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเท็คโนโลยี.. "ที่มนุษย์เราเองสร้างมันไม่ได้ ด้วยความชาญฉลาดมนุษย์และ เพื่อความอยู่รอด การดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์ ที่ไม่หยุดนิ่ง. ความเจริญด้านวัตถุ ได้หลั่งไหลเชี่ยวกราก ถาโถม ซัดสาด ออกมาจากมันสมองของมนุษย์ .. เพราะมันเป็นสัญชาติญาณของมนุษย์ทุกผู้ทุกนามในโลกใบนี้" ที่นอกเหนือจากความต้องการ การอยู่รอด ปลอดภัย.แล้ว มนุษย์ยังมีความต้องการความสุข ความสะดวก ความสบาย ยิ่งๆขึ้นไปอีก "ชาร์ล โรเบิร์ต ดาร์วิน (Charles Robert Darwin) นักวิทยาศาสตร์เอกของโลก ในศตวรรษ ที่ 19 ที่ตีพิมพ์ในหนังสือ กำเนิดพืชและสัตว์ต่าง ๆ (The Original of Species) เมื่อ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2402 ซึ่งอธิบายการกำเนิดของสิ่งมีชีวิตว่ามีวิวัฒนาการจากรูปแบบหนึ่งไปสู่อีกรูปแบบหนึ่ง โดยมีผลมาจากสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญ สิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องปรับสภาพตามสภาพแวดล้อม เพื่อการดำรงอยู่ต่อไป โดยเรียกทฤษฎีนี้ว่า การคัดเลือกโดยธรรมชาติ (Natural Selection) ได้ ตั้งทฤษฏีไว้ ว่า “ชีวิตดำรงอยู่ด้วยการต่อสู้” “ผู้ที่แข็งแรงกว่า ย่อมมีชีวิตอยู่รอดได้”

....โลกาภิวัฒน์ (GLOBOLIZATION)........จากคำนิยาม ความหมายของโลกาภิวัตน์ หรือ ภาษาอังกฤษ ว่า “GLOBOLIZATION”
โลกาภิวัตน์ เป็นคำที่แปลมาจากภาษาอังกฤษ Globalization ซึ่งมีผู้รู้ให้ความหมายไว้เฉพาะว่า โลกไร้พรมแดน
……… คำว่าโลกไร้พรมแดน เข้ามาสู่สังคมไทยในยุคที่เรียกว่าไอที (IT = Information Technology) โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ เมื่อมีการเกิดเครือข่ายโทรคมนาคมที่โยงใยทั่วโลกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า Internet (International Network )

ภาพความแตกต่างของความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติในหลากหลายสถานที่








........ความเจริญ ทางด้าน วิทยาศาสตร์ และเท็คโนโลยีทุกวันนี้ เรายังสามารถใช้ Internet เป็นช่องทางแห่งการเรียนรู้ การเสาะแสวงหาศึกษา ค้นคว้าหาข้อมูล ข่าวสาร เปิดโลกทัศน์ให้กว้างไกล ทั้งยังสามารถเสาะแสวงหาเพื่อน โดยไร้ซึ่งขอบเขต พรมแดน แห่งเชื้อชาติ ศาสนา ชนชั้น เพศ วัย ระดับของการศึกษาและภูมิปัญญา โดยไม่เคยรู้จักพบเห็นหน้าเห็นตา ไม่รู้จักกำพืด หัวนอนปลายเท้ากันมาก่อน ดั่งประหนึ่งเพื่อนสนิทชิดเชื้อมาแรมปี การประดิษฐ์คิดค้นเครื่องจักรและเครื่องยนต์เพื่อใช้ในการเดินทาง การคมนาคมขนส่งทั้งโดยทางถนน ทางน้ำ ใต้น้ำ บนอากาศ จนถึง ห้วงอวกาศ ในการเดินทางติดต่อ อำนวยความสะดวก สบายแก่มนุษย์ เหล่านี้นับเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ อำนวยความสะดวก รวดเร็ว มันได้เป็นเครื่องมือในการสรรค์ สร้างสรรพสิ่งต่างๆ และเกิดกิจกรรมไร้พรมแดนมากมาย มันได้สร้าง ความสะดวกสบาย สร้างความสนุกสนานบันเทิง เริงรมย์ต่างๆ แต่มนุษย์ได้สร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาเอง ตามความต้องการอันไม่มีขีดจำกัด เกินกว่าความจำเป็นในการดำรงอยู่อย่างปกติสุขมนุษย์ และไม่มีความพอดีของมนุษย์เอง Read more...


.......เนื่องจาก ความเจริญทางวัตถุ ทางเท็คโนโลยี มนุษย์ได้สร้างมันขึ้นมาเองด้วยฝีมือของมนุษย์เอง ศาสดาทั้งหลาย ได้แต่สอนให้มนุษย์ยึดมั่น มีคุณธรรม จริยธรรม มีศีลมีธรรม การทำความดี การละเว้นความชั่ว การทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว จงมีความรักความเอื้อเฟื้อต่อเพื่อนบ้าน อย่าเบียดเบียนซึ่งกันและกัน การดำรงชีวิตแบบเรียบง่าย ไม่โลภโมโทสัน เพราะอย่างนั้น มนุษย์ต้องรับผิดชอบในสิ่งมนุษย์สร้างมันขึ้นมาเอง


.........ความเจริญก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเท็คโนโลยีที่เป็นฝีมือของมนุษย์ มันทำให้มนุษย์เกิดความอหังการ์ เริ่มที่จะท้าทายความเชื่อ ความศรัทธา พระรัตนตรัย ในคำสอนพระเจ้า ปฏิเสธความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และสถาบันที่ควรเคารพบูชา ความเชื่อในเรื่องนรก เรื่องสวรรค์ เทวดา ฟ้าดิน เรื่องของบาปบุญ คุณ โทษ อย่างสิ้นเชิง ยุคแห่งโลกาภิวัฒน์ ได้ทำให้มนุษย์ สามารถติดต่อสื่อสาร เดินทาง สัญจร ได้ทุกที่ทุกเวลา ได้ดังนึก สามารถ บันดาล สรรค์สร้าง อะไรต่อมิอะไรที่ยิ่งใหญ่ เช่นการสร้างยานอวกาศเดินทางออกนอกโลก ไปสู่ห้วงจักรวาล ไปยังดวงดาวที่อยู่ไกลเกินกว่ามนุษย์จะมองเห็นได้ด้วยตา ดุจดั่งคับฟ้า คับจักรวาล หรือจะสร้างอะไรก็ได้ เพียงแต่มีเงินซื้อหา แลกเปลี่ยนเท่านั้น ก็สามารถก้าวทะลุกำแพงแห่งพิภพ กำแพงแห่ง เขื้อชาติ ศาสนา


......ความขัดแย้งในวิธีการคิดของ ศาสนจักร์และวิธีการคิดแบบของนักวิทยาศาสตร์ได้ปรากฏมาตลอดช่วงของพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติ แล้วแต่ฝ่ายใดจะมีอำนาจทางสังคมการเมืองมากกว่ากันในแต่ละยุคสมัยเนื่องจากแรงกดดันกดดันของศาสจักร์ ที่มีอำนาจ มอิทธิพลมากกว่า ในสมัยกลางหรือยุคมืด ถึงกับว่าทางศาสนจักร คือ ทางศาสนาคริสต์นั้นได้ตั้งศาลไต่สวนศรัทธาที่เรียกว่า Inquisition ขึ้นมา เพื่อเอาคนที่แสดงความสงสัยในคัมภีร์ศาสนา หรือพูดจาแสดงความไม่เชื่อในคำสอนของศาสนา ไปขึ้นศาลพิจารณาโทษ ใน ศตรรษ ที่ 16 กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) เกิด ณ เมืองปิซา ประเทศอิตาลี ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2107 (ค.ศ. 1564) – เสียชีวิต ณ เมืออาร์เซทิ (Arcetri) ฟลอเรนซ์ ในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2185 (ค.ศ. 1642) กาลิเลโอได้ไปพูดเรื่องโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ขึ้นมา ก็ถูกจับขึ้นศาลไต่สวนศรัทธา หรือ Inquisition นี้ จวนจะถูกบังคับลงโทษให้ดื่มยาพิษ เสร็จแล้วกาลิเลโอสารภาพผิด ก็เลยพ้นโทษไป ก็เลยไม่ตาย แต่อีก ความคิดที่จะพิชิตธรรมชาติ หรือความเข้าใจว่า ความสำเร็จของมนุษย์อยู่ที่การพิชิตธรรมชาติหรือเอาชนะธรรมชาติความคิดนี้เกิดจากการที่ชาวตะวันตกมีความเข้าใจว่า มนุษย์เรานี้ เป็นผู้ที่พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงสร้างมา ในฉายาของพระองค์ คือในรูปแบบของพระองค์ เสมือนแม้นพระองค์ ให้มาครองโลก ครองธรรมชาติ พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงสร้างธรรมชาติ สร้างสรรพสิ่ง สร้างสรรพสัตว์ทั้งหลาย คือเดรัจฉานต่าง ๆ ขึ้นมานี้ เพื่อให้มารับใช้สนองความปรารถนาของมนุษย์ เพราะฉะนั้นมนุษย์จึงเป็นใหญ่ เป็นศูนย์กลางของจักรวาล เป็นเจ้า เป็นผู้ครอบครอง
....มนุษย์เรียนรู้ความลึกลับของธรรมชาติ ก็เพื่อจะได้มาจัดการกับธรรมชาติ มาปั้นแต่งธรรมชาติให้เป็นไปตามปรารถนาของตนเองตามใจชอบ เรียกว่าให้ธรรมชาติรับใช้มนุษย์

.......ตำราฝรั่งถึงกับบอกว่า แนวความคิดอันนี้แหละที่อยู่เบื้องหลังความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ของตะวันตก เขาบอกว่า แต่ก่อนนี้ในยุคโบราณนั้น ตะวันออก เช่น จีน และอินเดีย มีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มากกว่าประเทศตะวันตก แต่ด้วยอาศัยแนวความคิดที่จะพิชิตธรรมชาติอันนี้ จังได้ทำให้ตะวันตกเจริญล้ำหน้าตะวันออกในทางวิทยาศาสตร์มาได้จนปัจจุบัน
........ความเชื่อว่า ความสุขของมนุษย์อยู่ที่การมีวัตถุปรนเปรอพรั่งพร้อม
อันนี้ก็เป็นความคิดที่สำคัญเหมือนกัน แนวคิดนี้พ่วงมากับการพัฒนาอุตสาหกรรม แต่เดิมนั้น อุตสาหกรรมในประเทศตะวันตกเกิดขึ้นมา จากแรงจูงใจและความคิดในการที่จะแก้ปัญหาความขาดแคลน อันนี้เป็นประวัติศาสตร์ของสังคมตะวันตกเอง คือ การที่จะแก้ปัญหาความขาดแคลน หรือ scarcity เพราะว่าในโลกตะวันตกนั้น ชีวิตถูกบีบคั้นด้วยธรรมชาติมาก เช่น ในฤดูหนาว พืชพันธุ์ธัญญาหารก็ไม่มี เกิดไม่ได้ มนุษย์ต้องอยู่ด้วยความยากลำบากเหลือเกิน นอกจากอากาศหนาวเหน็บแก่ตัวเองแล้ว ยังหาอาหารได้ยากอีกด้วย ทำให้มนุษย์ต้องเพียรพยายามอย่างเต็มที่ที่จะแก้ปัญหาความขาดแคลนนั้น และก็ได้ทำให้เกิดอุตสาหกรรมขึ้นมา

.....ทีนี้ ตรงข้ามกับความขาดแคลนคืออะไร มนุษย์ก็คิดว่า เมื่อแก้ปัญหาความขาดแคลนสำเร็จแล้ว ถ้าเกิดความพรั่งพร้อมมนุษย์ก็จะอยู่เป็นสุขอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้น ความคิดที่อยู่เบื้องหลังความเจริญทางอุตสาหกรรมของฝรั่ง จึงได้แก่ ความคิดที่ว่า จะแก้ปัญหาความขาดแคลน และให้มีวัตถุพรั่งพร้อมเพราะมองไปว่า ความสุขของมนุษย์นั้น จะเกิดขึ้นได้ด้วยการมีวัตถุปรนเปรอพรั่งพร้อมอย่างที่กล่าวเบื้องต้น

.....ต่อมา แนวความคิดนี้ก็พัฒนามาเป็นวัตถุนิยม แล้วก็แปรมาเป็นบริโภคนิยมได้ด้วย แต่ที่สำคัญก็คือความคิดความเข้าใจแบบอุตสาหกรรมนื้ ได้เข้ามาประสานกันกับแนวคิดอย่างที่หนึ่ง
Read more...

..........ในเรื่องของความเชื่อ ความศรัทธาในศาสนา ความเชื่อในเรื่องพระเจ้า มันต้องอยู่ภายใต้ หลักของเหตุผล ตามหลัก “กาลามสูตร”ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่ใช้ความเชื่อ แบบงมงาย และ พอมาถึงยุคที่วิทยาศาสตร์เจริญ แม้วิธีคิดการอธิบายและการพิสูจน์ปรากฏการณ์ธรรมชาติ เพื่อการหาคำตอบในความขี้สงสัยของมนุษย์ เราก็ยังใช้วิธีคิดแบบเดิม คือใช้ความเชื่อแบบงมงาย พวกนี้แหละก็ คือ พวก ลัทธิวิทยาศาตร์จิตตนิยม ซึ่งมันก็คือ ความคิดยึดมั่นถือมั่นใน ความเชื่อในสิ่งนั้นๆ จนกว่าจะมีการค้นพบ ลบล้าง หลักและทฤษฏีนั้น แบบงมงาย อันไม่ต่างจากวิธีคิด ลิทธิจิตตนิยมนามธรรม เช่น กฏฟิสิกซ์ ของเซอร์ไอแซกนิวส์ตัน ได้ถูกล้บล้างด้วย ทฤษฏีสัมพันธภาพนั่นเอง.


ดร.กัญจีรา กาญจนเกศ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประธานชมรมวิถีธรรม-วิถีไท ผู้มีชื่อเสียงจากการใช้พลังจิตและคลื่นพิเศษสร้างกระแสทำนายพิบัติภัย! กล่าวเตือนว่า ภายใน 3-6 เดือนข้างหน้าประเทศไทยจะได้พบภัยพิบัติธรรมชาติอย่างรุนแรง จะเกิดน้ำท่วม แผ่นดินแยก แผ่นดินทรุดในหลายพื้นที่ทั่วโทย โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ จะมีตึกสูงถล่มด้วย ส่วนภาคใต้จะเกิดคลื่นพายุหนัก จึงอยากเตือนให้หน่วยงานราชการเตรียมรับกับภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้น

'จากการนั่งสมาธิสวดมนต์ภาวนาปฏิบัติธรรม ได้พบภาพนิมิตล่าสุดว่า ภายใน 3-6 เดือนข้างหน้า ประเทศไทยจะเกิดแผ่นดินแยกและทรุดในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ
เห็นภาพแฟลตดินแดงถล่มทรุดลงมากองกับพื้นดินเลย ทุกวันนี้ตอนนั่งสมาธิรู้สึกถึงความสั่นสะเทือนระดับลึก จนเชื่อว่ากรุงเทพฯ จะเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงแน่นอน และมีอาฟเตอร์ช็อกด้วย คนที่อยู่ในตึกสูงเกิน 30 ชั้นให้ ระวังตัวไว้เลย'
ดร.กัญจีรา กล่าว

ดร.กัญจีรา อธิบายเพิ่มเติมว่า นอกจากนั่งสมาธิเพื่อเห็นภาพด้วยญาณวิถีแล้ว ยังศึกษาแผนที่โลกและความรู้ด้านภูมิศาสตร์-วิทยาศาสตร์เพิ่มเติมด้วย อยากเตือนว่าน้ำอาจท่วมปทุมธานีและนครนายกด้วย ภาคใต้จังหวัดที่ต้องระวังพายุหนักคือ ตรัง พัทลุง และนครศรีธรรมราช ผู้อยู่ภาคเหนือตอนล่างคือ อุทัยธานี พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ก็ต้องเตรียมพร้อมรับภัยธรรมชาติ

'อาจารย์ออกมาพูดวันนี้ ก็กลัวว่าคนจะหาว่าเชื่องมงาย แต่ถ้าไม่พูดคนก็จะไม่ได้ระวังตัว โดยเฉพาะหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบเรื่องบรรเทาสาธารณภัย อาจารย์เคยเป็นที่ปรึกษากระทรวงคมนาคมมาก่อน จึงรู้ว่าการป้องกันสามารถทำได้ และเตือนไปที่ผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ ให้รู้ข้อมูลนี้แล้ว อยากให้มีการเตรียมกระสอบทราย ระบายร่องน้ำและเรือช่วยเหลือไว้ เพราะที่ผ่านมาก็เคยเตือนว่าจะเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2547 และในวันที่ 26 ธันวาคม ก็เกิดคลื่นสึนามิจริงๆ'

คำว่า จริยธรรม ที่เรามักจะมีการกล่าวอ้างกันอยู่บ่อยๆ แท้ที่จริง แปลว่าอะไร?
เพื่อให้เกิดความชัดเจน ในความหมายของคำว่า จริยธรรม คุณธรรม จึงขอ หยิบยกความหมาย ในมิติต่างๆ มา พิจารณา ดู ว่า โดยนัย คำว่า จริยธรรม มันคืออะไรกันแน่ และทำไม สังคมถึง ต้องเรียกร้องหา จริยธรรม มากขึ้น
ความหมายตามพจนานุกรมในภาษาไทย
“จริยธรรม” หมายถึง “ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ศีลธรรมอันดี” ตามธรรมเนียมยุโรป อาจเรียก จริยธรรมว่า Moral philosophy (หลักจริยธรรม)
จริยธรรม น. ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม [1]
คำว่า “ธรรม” พระเดชพระคุณพระธรรมโกศาจารย์ หลวงพ่อพุทธทาส อินทปัญโญ กล่าวว่า คือ 1. ธรรมชาติ 2. กฎของธรรมชาติ 3. หน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ 4. การได้รับผลตามกฎของธรรมชาติ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต ) เพิ่มศัพท์และปรับปรุง พ.ศ. 2427 มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หน้า 105) ที่นำเอาความหมายของคำว่า ธรรม ที่ท่านผู้รู้กล่าวไว้มาเสนอมากพอสมควรนี้ก็เพื่อความเข้าใจคำว่า ธรรม ให้มากขึ้น เพราะเป็นคำที่สำคัญที่สุดและคนทั่วไปมักจะเข้าใจเพียงมัวๆเท่านั้น
คำว่า “ธรรม” คือ “สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ สภาวะธรรม, สัจธรรม, ความจริง, เหดุ, ต้นเหตุ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ ฯลฯ
จริยธรรม จึงหมายถึง การดำเนินชีวิต ความเป็นอยู่ การยังชีวิตให้เป็นไป การครองชีวิต การใช้ชีวิต การเคลื่อนไหวของชีวิตทุกด้าน ทุกระดับทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจ ทั้งด้านส่วนตัว ด้านสังคม ด้านอารมณ์ ด้านจิตใจ ด้านปัญญาเป็นไปในทางที่ถูกที่ควร
ส่วนคำว่า คุณธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นคุณ ความดีงาม และสภาพที่เกื้อกูล
จริยธรรม คุณธรรม ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ตามยุค ตามสมัย ไม่ว่าใครจะ ขึ้นมามีอำนาจทางการเมือง ไม่ว่าใครจะ มีอำนาจทางการปกครอง คำว่า “จริยธรรม และคุณธรรม” ย่อมจะเป็นสิ่งที่ท่านต้องไม่เปลี่ยนแปลง จริยธรรม คือข้อผูกพันที่โยงสัจธรรมนั้นเข้ากับชีวิตและสังคมมนุษย์ สัจธรรม คือความจริงที่มีอยู่ตามธรรมดา เป็นภาวะของธรรมชาติ
แม่ชีไพเราะ
คุณธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นคุณเป็นสภาวธรรมของคุณงามความดี
จริยธรรม หมายถึงธรรมที่เป็นจริยามารยาท เป็นสภาวธรรมที่ควรประพฤติปฏิบัติ
กระทรวงศึกษา 2532
คุณธรรมหมายถึง สภาพความดีงามทั้งหลาย ซึ่งฝังลึกอยู่ในจิตสำนึกของบุคคล และเป็นคุณสมบัติที่มิอาจหาได้ในสัตว์โลกชนิดอื่น อาจกล่าวได้ว่าคุณธรรมเป็นสมบัติของมนุษย์ชาติโดยเฉพาะ (สนง.พัฒนาคุณธรรม)
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต 2545
คุณธรรม หมายถึง สภาพ คุณงาม ความดี
จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ, ศีลธรรม กฎศีลธรรม

ส่วนใน ความหมายจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จริยธรรม เป็นหนึ่งในวิชาหลักของ วิชา ปรัชญา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความดีงามทางสังคมมนุษย์ จำแนกแยกแยะว่าสิ่งไหนถูก และสิ่งไหน ผิด หากจะอธิบายอย่างง่ายๆ แล้ว จริยธรรม หมายถึง “การแยกสิ่งถูกจากผิด ดีจากเลว”
“จริยธรรม” มาจากคำ 2 คำคือ จริย + ธรรม ซึ่งแปลตามศัพท์ คือ จริยะ แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คำว่า ธรรม แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ เมื่อเอาคำ จริยะ มาต่อกับคำว่า ธรรม เป็น
“จริยธรรม” แปลเอาความหมายว่า “กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ ” [2]
พอสรุปสาระแก่นสารของ คำว่า “จริยธรรม “ ก็คือการประพฤติ การปฏิบัติของมนุษย์แต่ในสิ่งที่ดี ด้วย กาย วาจา และใจ ต่อมนุษย์และสัตว์ โดยสอดคล้องกับสภาวะธรรม และหลักแห่งศีลธรรม ซึ่งภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Moral philosophy”
ผู้ที่เข้าไปมีอำนาจรัฐ จึงพยายามแก้ไขกฏหมาย บางอย่างเพื่อ เป็นประโยชน์สำหรับตนและพวกพ้อง และก็ถือว่าไม่ผิดกฏหมาย และก็เลยเหมาแปลเข้าข้างตนเองไปเสียเลยว่า การกระทำของตนไม่ผิดจริยธรรม และสังคมก็เริ่มที่จะสับสนไปเสียแล้วว่า หากไม่มีกฏหมายบัญญัติแม้จะเป็นการเอารัดเอาเปรียบคนจน หรือเอาเปรียบในทางสังคม ก็ถือว่า ไม่ผิดไปเลย ไม่ผิดอะไร ก็คือ ไม่ผิด กฏหมาย แต่ ผิดจริยธรรม คุณธรรม หรือเปล่า ?

ในการปกครองประเทศและการควบคุมในสังคม มีบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญ เป็นกฏหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ
ดังปราชญ์ ขงจื้อ ได้วางหลักปรัชญาของนักปกครอง กว่า 20 ศตวรรษ ว่า
“วัฒนธรรม” ความประพฤติ ความจงรักภักดี และ ความซื่อสัตย์ โดยวัฒนธรรมเน้นถึงการเคารพบรรพบุรุษและพิธีการโบราณ ยึดถือผู้อาวุโสเป็นหลัก แต่ไม่ยึดติดหรืออายที่จะหาความรู้จากคนที่ต่ำชั้นหรืออายุน้อยกว่า
แปดหลักการพื้นฐานในการเรียนรู้
ได้แก่ สำรวจตรวจสอบ ขยายพรมแดนความรู้ จริงใจ แก้ไขดัดแปลงตน บ่มความรู้ ประพฤติตามกฎบ้านเมือง ประเทศต้องได้รับการดูแล นำความสงบสุขมาสู่โลก
ลำดับการเรียนรู้
ได้แก่ พิธีกรรม ดนตรี ยิงธนู ขี่ม้า ประวัติศาสตร์ และ คณิตศาสตร์
คุณธรรมทั้งสาม
ที่ได้จากการเรียนรู้ ได้แก่ ภูมิปัญญา เมตตากรุณา และความกล้าหาญ
สี่ขั้นตอนหลักการสอน
ได้แก่ ตั้งจิตใจไว้บนมรรควิธี ตั้งตนในคุณธรรม อาศัยหลักเมตตาเกื้อกูล สร้างสรรค์ศิลปะใหม่
สี่ลำดับการสอน

ขงจื้อ (จีน: 孔子 ; อังกฤษ: Confucius ; ภาษาไทยมีเรียกกันหลายชื่อ เช่น ขงฟู่จื่อ ขงจื่อ คงฉิว หรือ คงซ้งนี) (ตามธรรมเนียม, 8 กันยายน 551 ปีก่อน ค.ศ. - 479 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นนักคิดและนักปรัชญาสังคมที่มีชื่อเสียงของจีน คำสอนของขงจื๊อนั้น ฝังรากอิทธิพลลึกลงไปในสังคมเอเชียตะวันออกมาเป็นเวลาถึง 20 ศตวรรษ หลักปรัชญาของขงจื๊อนั้นเน้นเกี่ยวกับศีลธรรมส่วนตัว และศีลธรรมในการปกครอง ความถูกต้องเหมาะสมของความสัมพันธ์ในสังคม และ ความยุติธรรมและบริสุทธิ์ใจ
อะไรคือสิ่งที่ดี อะไรคือสิ่งที่เลว?
มนุษย์ หนอมนุษย์ ต้องยอมรับกันได้แล้วว่า มาตราฐานความดี ความเลวของมนุษย์ มันจะเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงไป ตามกาลเวลา
ยิ่งความเจริญทางวัตถุมากเท่าไร มาตราฐาน ความ ดี ความเลว ก็จะลดลงเท่านั้น จริงหรือไม่จริง ?
เช่น การออกกฏหมายทำแท้งเสรี กฏหมายอนุญาตให้ฆ่าสัตว์ได้ และกฏหมาย อื่นๆที่ เอื้ออำนวยประโยชน์ให้เฉพาะบางกลุ่ม เป็นต้น
โลกเราทุกวันนี้ ปัญหารอบตัวเรามากมายนัก เสมือนนักมวยชกมวยบนสังเวียน ย่อมมึนงง เมาหมัด จนลืมอะไรต่อมิอะไรไปหมด ว่า ปัญหาต่างๆรอบตัวเรา มันเกิดจากอะไร ปัญหาโลกร้อนคือ ตัวอย่างหนึ่งที่มนุษย์เราประสพ

เนื่องจาก คำว่า ศาสนา มีความหมาย ที่อาจจะดูสูงส่งเกินไปกว่าที่ เราจะนำมาใช้อ้างอิงสอนมนุษย์ในทุกวันนี้ เพราะ ความเชื่อ ทัศนคติ และปัจจัยแวดล้อม รอบตัวมนุษย์ มันซับซ้อน ซ่อนเงื่อน เกินกว่าที่ มนุษย์จะ สัมผัสจับต้องได้ ในยุคนี้ในสมัยนี้ เสียแล้ว
ดังนั้น สิ่งที่พอที่จะหยิบยก กล่าวอ่างได้พอที่มนุษย์จะสัมผัสจับต้องได้ ก็คงเหลือ อยุ่แต่ คำว่า “คุณธรรม จริยธรรม” เท่านั้นเอง และ กฏหมาย ก็เป็นเครื่องมือ และถึงแม้จะมีกฏหมาย เป็นเครื่องมือทางสังคม ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา แล้วแต่สภาพแวดล้อม แล้วแต่ผู้มีอำนาจ ทางการเมือง ในแต่ละยุด แต่ละสมัยที่จะนำมาใช้เป็น กรอบในการบริหารชาติ บ้านเมือง ที่ รายล้อมไปด้วย สภาพแวดล้อม ที่เต็มไปด้วยการ แข่งขัน ต่อสู้ ชิงไหว ชิงพริบ จนเรียกว่า กระพริบตา กันไม่ได้ เลย นั่นคือ เหตุผล ที่ถูกต้องจริงหรือไม่เพียงใด ศาสนา อยู่ในระดับที่สูงเกินกว่า ที่มนุษย์ส่วนใหญ่จะ รับได้
การใช้คำว่า คุณธรรม จริยธรรม ความหมาย ทั่วไปในปัจจุบัน ดังเราจะเห็นว่า มนุษย์เราเริ่มเรียกร้องหา จริยธรรม คุณธรรมกันมากยิ่งขึ้น แต่ผู้ที่ถูกกล่าวอ้างว่า ไม่มี คุณธรรม จริยธรรม ส่วนใหญ่ก็มักจะปฏิเสธ และก็เชื่อว่าตนเองมีคุณธรรม จริยธรรม ตนเป็นคนดี ปัญหาอยู่ที่ว่า แล้วที่จริงแล้วเขาเป็นคนดีจริงหรือไม่ ผู้ที่ถูกกล่าวอ้าง มีคุณธรรมจริงหรือไม่ เพียงใด ใครผิด ใครถูก? เอาอะไรเป็นมาตราฐาน เป็นมาตรวัด
ก็เพราะ มันเกิดความเหลื่อมล้ำ ต่ำสูง ในทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ แน่นอน ผู้ที่ได้เปรียบย่อมไม่ เรียกร้องหา ความยุติธรรม มีแต่ผู้ที่เสียเปรียบ และถูกเอารัดเอาเปรียบนั้นย่อมจะต้องเรียกร้องโหยหา ความยุติธรรม เรียกร้องโหยหา ความมีคุณธรรม ความมีจริธรรมจากสังคม และแน่นอน ผู้ที่ เสียเปรียบในทางสังคม ย่อมมากกว่า ผู้ที่ได้เปรียบ ดังนั้น พวกที่เสียเปรียบ จึงต้องมีการ ต่อสู้เรียกร้อง หากไม่ได้ ด้วยความสันติ ก็ต้องมีการต่อสู้ใช้ความรุนแรง เป็นธรรมดาตามกฏธรรมชาติ

หากว่ากฏหมาย ไม่เป็นธรรม ไม่ยุติธรรม สำหรับคนเอื้ออำนวยประโยชน์สุขสำหรับคนส่วนใหญ่ของประเทศ เสียแล้ว สังคมก็จะต้องเกิดวิกฤติ คนส่วนใหญ่ก็จะต้องลุกขึ้นมาต่อต้าน ลุกฮือ ขึ้นต่อสู้ ไม่ว่าจะโดย สันติวิธี หรือโดยการใช้ความรุนแรง
ดังปรากฏการณ์การปฏิวัติในโซเวียสรัสเซีย ที่ประชาชนลุกฮือขึ้นมา ล้มล้างระบบการปกครองของพระเจ้าซาร์ ดังเช่นการทะลาย คุกบัสติน ในฝรั่งเศส ถ้าหากว่า ผู้มีอำนาจ เป็นผู้ออกกฏหมาย ก็ดัง ที่ สตาลิน ได้เคยกล่าวไว้ว่า “ ชนชั้นใดเป็นผู้ออกกฏหมาย ก็เพื่อผลประโยชน์ของชนชั้นนั้น “ จาก “คำประกาศแห่งความเสมอภาค ( The Communist Manisfesto) ของมาร์กซ และแองเกลส์
ดังนั้นหากสังคม ผู้ปกครองเริ่มเป็นทรราช เป็นเผด็จการ ก็แสดงว่าได้เกิดการขาดคุณธรรม จริยธรรมเสียแล้ว หรือเกินกว่าระดับศีลธรรมที่อาจสูงเกินไป จึงต้องเรียกร้องโหยหา คุณธรรม จริยธรรม
ที่กำลังจะกล่าวนี้ เป็นความหมาย เป็นคุณค่าในความคิด ความเข้าใจ ของใครต่อใคร ของผู้คนในยุคปัจจุบัน ไม่ใช่เพื่อที่จะชี้ให้เห็นว่า เดี๋ยวนี้ระดับคุณธรรม จริยธรรมที่มักจะกล่าวอ้าง ยึดถือ ของคน มันเปลี่ยนแปรไปเสียแล้ว

ที่เป็นดังนี้ ถามว่า เพราะอะไร ? อะไรสาเหตุ ?

สาเหตุก็เพราะ สังคมเราเริ่มขาดดุลยภาพ ในทางเศรษฐกิจ ในทางการเมือง ช่องว่างระหว่าง มนุษย์ด้วยกันเองในชนชั้นต่างๆ เริ่มห่างกันมากขึ้น
เพราะ สังคมมันได้เริ่มเกิดการ เอารัดเอาเปรียบ แก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่นกันใช่ไหม? มันเริ่มเกิดช่องว่าง ความแตกต่าง ในเรื่อง โอกาสกันเสียแล้ว
มาตราฐานของ จริยธรรม คุณธรรม เริ่ม เปลี่ยนแปลง ไปตามยุคสมัย
ซึ่งที่ถูกที่ควรแล้ว จริยธรรม คุณธรรม ก็ต้องอยู่ภายใต้ ความจริงสูงสุด ความดี สูงสุดอยู่นั่นเอง ไม่เปลี่ยนแปรไปตามยุคสมัย
จึงอาจจะกล่าวได้ว่า การใช้คำว่า จริยธรรม คุณธรรม ควรคำนึงถึง ความหมาย ตามมิติต่างๆ ในสังคม ในความหมายเชิงอุดมคติ ในมิติทางศาสนา กับ ในมิติ สังคม การเมือง ในมิติ ทางเศรษฐกิจ ก็คง เป็นอีกแบบหนึ่ง

โลกยิ่งเจริญทางวัตถุมากขึ้น ระดับจริยธรรม คุณธรรม ก็จะลดต่ำลง

มนุษย์มักจะมีเหตุผล คำอธิบายในการละเมิดกฏแห่ง จริยธรรม คุณธรรม เสมอ และคำว่า จริยธรรม คุณธรรม ก็คงเป็นปราการด่านสุดท้ายของความดีที่ถูกกล่าวอ้าง หลักและมาตราฐานของการอยู่ร่วมกันได้ของมนุษย์เรา
ถามว่า ทำไม ยังคงต้องมีการเรียกร้องหา จริยธรรม คุณธรรม กันเล่า ในเมื่อมนุษย์เรา เชื่อแต่โลกของวัตถุ ที่อยู่ใกล้ตัว เชื่อแต่ในเรื่อง ผลที่จะได้ เท่าที่เห็นได้เท่านั้น
คำตอบต่อคำถามนี้ ก็คือ นอกเหนือจาก ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรมแล้ว กฏหมายเป็นสิ่งสุดท้ายที่สังคมจะต้องมีจึงได้บัญญัติขึ้น ในเมื่อมนุษย์ไม่เชื่อเรื่องนรกสวรรค์
กฏหมายจึงเป็นเครื่องมือทางสังคม ที่เหลืออยู่ รองจาก คุณธรรม จริยธรรม ดังที่ได้กล่าวข้างต้น อันที่จะช่วยทำให้สังคมมนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสันติและผาสุข และเป็นเครื่องช่วยคุ้มครองผู้ที่อ่อนแอกว่า ไม่ให้ถูก ข่มเหงรังแก เบียดเบียน



อะไรจะเกิดขึ้นกับโลกหาก คนขาดจริยธรรม คุณธรรม ?

ดังคำบรรยายธรรมของท่านพุทธทาส ในโอกาสที่ท่านมีอายุครบ 7 ทศวรรษ เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2519 ใน หัวข้อการแสดงธรรมคือ "โลกวิปริต" จะว่าไปแล้วนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ท่านเตือนให้เราตระหนักถึงปัญหาความวิปริตของโลก แต่ในการบรรยายธรรมครั้งนั้นท่านได้แจกแจงสภาพการณ์และสาเหตุของความวิปริตดังกล่าวไว้อย่างละเอียด ซึ่งกล่าวโดยสรุปก็คือ โลกนี้วิปริตเพราะการคลาดเคลื่อนออกจากหลักธรรม จนตกเข้าไปเป็นทาสของวัตถุนิยม ด้วยเหตุนี้ท่านจึงเรียกร้องให้ชาวพุทธทั้งหลายพยายามเข้าถึงหัวใจของพุทธศาสนาเพื่อพาตนให้หลุดพ้นจากอำนาจของวัตถุนิยม ขณะเดียวกันก็ช่วยกันนำศีลธรรมกลับมา เพราะ "ถ้าศีลธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ”